Saturday, February 6, 2010

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หลายคนคงสงสัยว่า โรคนี่คือโรคอะไร ถ้าสังเกตให้ดี เมื่อเดินไปตามท้องถนน อาจจะพบคนที่เดินตัวเกร็งๆ มือสั่นๆ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า สันนิบาตลูกนก

แต่ที่เห็นเดินกันตามท้องถนนนั้น ยังถือว่า เป็นไม่มาก เพราะผู้ป่วยยังสามารถเดินได้ แต่ 15% ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันจะมีอาการมากจนไม่สามารถเดินออกไปนอกบ้านได้ ด้วยเหตุที่เกร็งมากจนก้าวไม่ออก หรือกินยาแล้วไม่ตอบสนอง แต่กลับทำให้มีกล้ามเนื้อขยับผิดปกติ
ในอดีตคนไทยน้อยคนนักจะรู้จักโรคนี้ ในยุคปัจจุบัน คนไทยมีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่าเดิมมาก คือผู้ชายอายุเฉลี่ยถึง 63 ปี ส่วนผู้หญิงอายุเฉลี่ย 64 ปี (อดีตคนไทยเราอายุเฉลี่ยเพียง 45 ปี) ดังนั้นโรคในผู้สูงอายุจึงพบบ่อยขึ้นในคนไทยเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคทางระบบประสาทที่มีชื่อเรียกว่า โรคพาร์กินสัน โรคนี้ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ (อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) โดยมี

อาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 3 ประการ ได้แก่
1.อาการสั่น
2.อาการเกร็ง
3.อาการเคลื่อนไหวช้า

สาเหตุ
1.ความชราภาพของสมอง
2.รับประทานยาทางด้านจิตเวช/ยารักษาอาการเวียนศีรษะ
3.อุบัติเหตุศีรษะถูกกระทบกระเทือน
4.อาการของหลอดเลือดในสมองอุดตัน
5.การโดนสารพิษที่ทำลายสมอง
6.การเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน
7.โรคพันธุกรรม

อาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 4 ประการ ได้แก่
1.อาการสั่น
2.อาการเกร็ง
3.อาการเคลื่อนไหวช้า
4.การสูญเสียการทรงตัว

ในอดีต โรคนี้รักษาไม่ได้ และอาการของผู้ป่วยจะเป็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับเตียงตลอด ในที่สุดก็จะเสียชีวิตเพราะโรคแทรกซ้อน แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้สามารถรักษาโรคนี้ได้อย่างดี และสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นมาก
โรคนี้เกิดที่บริเวณตัวสมอง ในส่วนลึกๆ ซึ่งมีกลุ่มเซลล์ประสาทที่มีสีดำ มีจำนวนลดลง หรือบกพร่องในการปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า โดปามีน จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวช้า เกร็ง และสั่น เกิดขึ้นตามลำดับ ดังนั้นในปัจจุบันการรักษาโรคนี้ จึงมุ่งให้สมองมีระดับโดปามีนกลับสู่ค่าปกติ ซึ่งทำได้โดยการรับประทานยาหรือผ่าตัดสมอง

นวัตกรรมในการรักษา
1.รักษาทางยา รับประทานยาต่อเนื่องจนกว่าอาการจะดีขึ้น
2.การรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง ป้องกันการหกล้ม กระดูกหัก
3.การรักษาโดยการผ่าตัด การฝังเครื่องกระตุ้นสมองที่เรียกว่า Deep Brain Stimulation (DBS) ถือได้ว่าเป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่สุดในขณะนี้ หลักการทำงานของ Deep Brain Stimulation (DBS) คือ อาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นสมองส่วนที่ทำงานผิดปกติด้วยความถี่สูงเพื่อยับยั้งการทำงานของสมองส่วนนั้นๆ การรักษาด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นทันทีหลังจากได้รับการผ่าตัด และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ที่มา : ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร.1719

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

 

©2009 Good Health | by TNB